เงินเยนใกล้จบรอบ “อ่อนค่า” คาดไตรมาส 4/66 แบงก์กลางญี่ปุ่นปรับนโยบายการเงิน คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง อันดับ 1
เฟด คงดอกเบี้ยตามคาด แต่ยังเปิดโอกาสขึ้นต่อ หากเงินเฟ้อลงช้า
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินเยนของญี่ปุ่น ปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง แตะระดับ 151.7 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี ก่อนจะปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (3 พ.ย.66) กลับมาแข็งค่าขึ้นที่ระดับ 149.3 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่เงินเยนเมื่อเทียบกับสกุลเงินบาทไทย ยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง ปิดอยู่ที่ระดับ 0.2361 บาทต่อเยน ถือว่าอ่อนค่ามากสุดนับตั้งแต่ปี 2540 หรือ ในรอบ 26 ปี
กราฟแสดงค่าเงินเยน เมื่อเทียบกับเงินบาทไทย อ่อนค่าต่ำสุดในรอบ 26%
โดยเงินเยนที่อ่อนค่า ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษของ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่การประชุมล่าสุดเมื่อ 31 ต.ค.66 ที่ผ่านมา ได้มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% และคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ไว้ที่ประมาณ 0%
ขณะเดียวกัน ได้ผ่อนคลายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) ด้วยการปรับเพดานให้ไปขึ้นถึง 1% จากก่อนหน้านี้กำหนดเพดานไว้ที่ 0.5% และยกเลิกความพยายามเข้าซื้อพันธบัตรแบบไม่จำนวนจำกัด เพื่อรักษาระดับ YCC
คุณรุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวางแผนโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว PPTV ว่า การปรับนโยบายของ BOJ ทำให้ตลาดผิดหวัง เพราะคาดว่าจะมีการปรับนโยบายมากกว่านี้ หรือส่งสัญญาณยกเลิกอัตราดอกเบี้ยนโยบาย -0.1% และได้ปรับการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ซึ่ง BOJ ระบุว่าสามารถที่จะขึ้นไปได้เกิน 1% แต่ทั้งหมดก็ยังไม่พอที่จะช่วยหนุนค่าเงินเยน
“ทั้งหมดนี้ไม่เพียงพอที่จะช่วยให้หนุนค่าเงินเยนกลับมา เพราะว่าน่าจะเป็นประเทศเดียวเลยที่ใช้ดอกเบี้ยติดลบ ขณะที่เงินเฟ้อในญี่ปุ่นก็สูงขึ้นเรื่อยมา คะแนนความนิยมทางการเมืองของรัฐบาลก็ลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะว่าเงินเฟ้อมา และก็นโยบายการเงินไม่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และก็เงินเฟ้อในญี่ปุ่น”
คาดแบงก์ชาติญี่ปุ่น คงดอกเบี้นติดลบไปจนถึงปี 67
ผู้อำนวยการอาวุโสฯ มองว่า การที่ BOJ จะยกเลิกดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายภายในปีนี้ 66 นั้น เป็นไปได้ยาก เพราะ BOJ มีความระมัดระวังมากขึ้นในการปรับนโยบายแต่ละครั้ง และคาดว่าอาจจะเกิดขึ้นช่วงครึ่งแรกของปี 67
ดังนั้นในช่วงระยะนี้เงินเยนอาจโดนแรงกดดันต่อเนื่อง และถ้าอ่อนค่าลงเรื่อย ๆ อย่าวรวดเร็วจนถึงระดับ 151-152 เยนต่อดอลลาร์ ทางการญี่ปุ่นอาจจะต้องเข้ามาแทรกแซงพยุงค่าเงินเยน ซึ่งก็จะทำให้เงินเยนกลับมาแข็งค่าได้แค่ชั่วคราว
“อาจจะไม่สามารถหยุดการอ่อนค่าของเยนได้อย่างยั่งยืน อาจจะหยุดได้แค่ชั่วคราว ก็คือไล่พวกนักเก็งกำไรออกไปก่อน ในระยะสั้น ๆ หลังจากนั้นแล้วตลาดจะกลับมาดูว่าแนวโน้มที่ BOJ จะปรับนโยบายการเงินจริง ๆ จะอยู่ในช่วงไหน ช้าหรือเร็ว หรือว่าออกมาในรูปแบบไหน”
กราฟแสดงค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์
ปัจจุบันเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่น เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบรายปี ยังอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมายของ BOJ ที่ 2.00% โดย คุณรุ่ง ระบุว่า ญี่ปุ่นเผชิญเงินฝืดมานาน 20 ปี เมื่อสถานการณ์พลิกกลับมาเป็นเงินเฟ้อ จึงมีผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินในระยะถัดไป ซึ่ง BOJ ต้องการซื้อเวลา หากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วเกินไป อาจจะกลายเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจ
“ที่ผ่านมาเงินเยนเขาเสียเปรียบเรื่อง ดอกเบี้ยมาโดยตลอด ถ้าเกิดว่าดอกเบี้ยโลกพลิกกลับมาเป็นขาลง BOJ ก็อาจจะซื้อเวลาไปกับตรงถึงตรงนั้นได้ แต่คิดว่าทุกวันนี้หมดยุคดอกเบี้ยทั่วโลกต่ำติดดินไปหมดแล้ว ถึงแม้ว่าสหรัฐฯจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แต่โอกาสที่จะลดดอกเบี้ยเร็ว ๆ มันก็น้อยมาก ดังนั้นก็ BOJ ก็คงซื้อเวลาได้ แต่ก็ไม่น่าจะมาก ในที่สุดน่าจะโดนตลาดบังคับให้ปรับนโยบายอยู่ดี”
เมื่อถามว่านักท่องเที่ยวไทยที่จะเดินทางไปญี่ปุ่น ควรแลกเงินเยนในช่วงนี้หรือไม่ คุณรุ่ง กล่าวว่า ที่ระดับราคาตอนนี้สามารถแลกได้ และไม่น่าลงต่ำไปมากกว่านี้
“ราคาที่ต่ำมากแล้ว แทบจะไม่ค่อยเห็นเลย ก็โอกาสที่จะลงไปลึก ๆ ก็ คิดว่ายังน่าจะจำกัด ถ้าจะไปเที่ยว จริง ๆ ราคานี้ก็แลกได้ ไม่ได้เสียเปรียบอะไร 0.23 กลาง ๆ ก็ถือว่าถูกมากแล้ว”