นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยว่า ทิศทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไทยในปี 67 ของทีเส็บ ยึดโยงการตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไป ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัว เพื่ออยู่รอดและเพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขัน และผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งประชุมที่ให้มูลค่าและคุณค่าสูง และสร้างกลยุทธ์ใหม่ คำพูดจาก สูตรสล็อต pg
โดยผสมผสานอัตลักษณ์ความเป็นไทย ผ่านการใช้นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์และกระชับการทำงานร่วมกับภาคีทุกภาคส่วน วางเป้าหมายตลอดปีงบประมาณ 67 จะมีนักเดินทางไมซ์ รวมทั้งสิ้น 23.2 ล้านคน ทำรายได้ 1.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดต่างประเทศ 9.6 แสนคน รายได้ 6.3 หมื่นล้านบาท และตลาดในประเทศ 22.2 ล้านคน รายได้ 7.3 หมื่นล้านบาท
สำหรับการดำเนินงานในปี 2567 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเป้าหมายสปริงบอร์ด ออฟ เอเชีย กราวด์ โดยจะผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยผ่าน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่คำพูดจาก สล็อตวอเลท
1.งานเทศกาลนานาชาติหรือเฟสติวัล โดยจะขับเคลื่อนโดยใช้ “ต้นทุน” ทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ หรือซอฟต์พาวเวอร์ เป็นตัวสร้างมูลค่าแบบ 360 องศา ในการสร้างประสบการณ์ที่มีอัตลักษณ์ มีคุณค่า และเป็นจุดขายใหม่ ที่ขับเคลื่อนโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยมีมาตรการในระยะเร่งด่วนหรือควิกวินที่ต้องทำในปี 67 คือ เร่งทำตลาดเชิงรุกในต่างประเทศ เน้นสร้างเครือข่ายผ่านการทำโรดโชว์ วัน-ออน-วัน-มีตติ้ง ควบคู่กับการเปิดเวทีรับฟังความท้าทายต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การสร้างเครือข่ายและโอกาสในเวทีโลก
2.การแสดงสินค้านานาชาติ จากรายงานของสมาคมการแสดงสินค้าโลก หรือ UFI พบว่า ในปี 65 ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน และอันดับ 4 ของเอเชีย ในด้านพื้นที่การจัดงานแสดงสินค้า และในปี 66 งานแสดงสินค้ายังเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มรายได้และจำนวนนักเดินทางไมซ์ต่างชาติเข้าสู่ไทย ซึ่งเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 68% หรือเทียบเท่ากับรายได้ในปี 62 ซึ่งเป็นปีที่มียอดสูงสุดก่อนการระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีงานแสดงสินค้าใหม่เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 25 งาน และมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต ทีเส็บจึงได้เตรียมแนวทางในการสร้างความได้เปรียบด้านแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าไทย โดยการสร้างเครื่องมือวิเคราะห์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในตลาดที่การแข่งขันยังไม่สูงนัก (Blue Ocean) พร้อมสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.ตลาดไมซ์ในประเทศ ในปี 66 มีนักเดินทางไมซ์ในประเทศ จำนวน 16.5 ล้านคน คิดเป็น 95% ของนักเดินทางไมซ์โดยรวม ทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ประมาณ 50,000 ล้านบาท และยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย ช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุม และทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ทีเส็บจึงได้เตรียมความพร้อมการพัฒนาและยกระดับพื้นที่เป้าหมายและการสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่า เชื่อมโยงเมืองไมซ์ทั้ง 10 แห่ง พร้อมเปิดตัวแคมเปญ ยกทีมประชุม รุมรักเมืองไทย เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนในภาพรวม