งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet Planetary Health เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (7 ส.ค.) พบความเชื่อมโยงระหว่าง "มลพิษทางอากาศ" กับ "ปัญหาเชื้อโรคดื้อยา"ที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกัน
นักวิจัยได้สร้างโมเดลที่ศึกษาระดับ PM2.5 และระดับการดื้อยาของเชื้อโรคใน 166 ประเทศ โดยตรวจพบความสัมพันธ์กันระหว่างระดับ PM2.5 ที่สูงกับระดับการดื้อยาที่สูง และยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป กล่าวคือ หากระดับมลพิษเพิ่มขึ้น ระดับการดื้อยาก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
“ฌาปนกิจศพด้วยน้ำ” ทางเลือกใหม่ในการลดมลพิษจากการเผาศพ
มลพิษพลาสติกทั่วโลก ลดลงได้ถึง 80% ในปี 2040
วิจัยใหม่พบ แทบไม่มีที่ใดในโลก ปลอดภัยจากมลพิษอากาศ
การดื้อยาของเชื้อโรคเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก ที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่น่าตกใจและทำให้มีผู้เสียชีวิตแต่ละปีราว 7 แสนคน โดยองค์การสหประชาชาติระบุว่า การดื้อยาของเชื้อโรคเป็นภัยคุกคามสุขภาพและความปลอดภัยของคนทั้งโลกอย่างแท้จริง
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การดื้อยาส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการจ่ายยาเกินความจำเป็นหรือการใช้ยาไม่ถูกต้อง การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ไม่ดี การใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์มากเกินไป รวมถึงสุขอนามัยที่ไม่ดี แต่จะบอกว่าการกระทำเหล่านี้เป็นสาเหตุของปัญหาทั้งหมดก็ไม่ได้
โมเดลในงานวิจัยใหม่นี้แสดงให้เห็นว่า มลพิษจากอนุภาคฝุ่นละอองเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงในค่าเฉลี่ยการดื้อยาทั่วโลก 11 เปอร์เซ็นต์
งานวิจัยยังพบว่า การเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศทุกๆ 1 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้การดื้อยาเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.5-1.9 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเชื้อโรคอะไร
หนึ่งในคำอธิบายที่เป็นไปได้คือ มลพิษจากอนุภาคฝุ่นละอองอาจช่วยแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา โดยก่อนหน้านี้เคยมีงานศึกษาที่ชี้ว่า อนุภาคฝุ่นละอองสามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานที่พาเชื้อแบคทีเรียไปด้วยได้
ยืนดื้อยามักจะถูกพบในจุลชีพในอากาศในพื้นที่ที่ปกติจะพบยาปฏิชีวนะ เช่น โรงพยาบาล โรงงานบำบัดน้ำเสีย และฟาร์ม แต่ก็พบในที่ที่ไม่คาดคิดเช่นกัน
โดยงานศึกษาเมื่อปี 2018 พบยีนดื้อยาในอากาศใกล้สวนสาธารณะของเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนีย และจำนวนของพวกมันเพิ่มขึ้นในวันที่มีหมอกพิษสูง
อีกคำอธิบายที่เป็นไปได้คือ มลพิษอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเองมีการเปลี่ยนแปลงและดื้อยา งานศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า เมื่อมลพิษจากอนุภาคฝุ่นละอองกับแบคทีเรียมาเจอกัน แบคทีเรียจะมีความรุนแรงขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยระบุว่า งานวิจัยของพวกเขายังต้องมีการพิสูจน์ต่อไป แต่หากการวิเคราะห์นี้ถูกต้อง และมลพิษจากอนุภาคฝุ่นละอองยังอยู่ในระดับนี้ต่อไป ระดับการดื้อยาของเชื้อโรคทั่วโลกในปี 2050 จะสูงขึ้น 17 เปอร์เซ็นต์จากปัจจุบัน ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะไม่มาก แต่นั่นหมายความว่า ผู้คนอีก 840,000 คน อาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคที่ใช้ยาชีวปฏิชีวนะรักษาไม่ได้